ความชราของร่างกายเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคชราหรือความแก่ ว่ามีสาเหตุมาจากอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายเสื่อมสภาพลง เป็นผลให้นำไปสู่ความเจ็บป่วย โรคภัย และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้

 

มารู้จักสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคชรากันเถอะ!

โดยสาเหตุหลักของความชราเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

  • อนุมูลอิสระ (Free Radical) เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีระดับไขมันสูง เช่น อาหารที่ผ่านการทอดด้วยอุณหภูมิสูง อาหารปิ้ง ย่าง ควันบุหรี่ มลพิษต่างๆ ความเครียด นอนน้อย เป็นต้น  ซึ่งอนุมูลอิสระเป็นตัวทำลายภูมิคุ้มกัน และสร้างความเสื่อมให้กับเซลล์ต่างๆ นั่นเอง
  • ภาวะน้ำตาลสะสม (Advanced Glycosylation End Product) เกิดจากการเน้นการรับประทานอาหารจำพวกแป้งขาว และน้ำตาล แต่ขาดการออกกำลังกาย ทำให้อวัยวะภายในร่างกายเสื่อมสภาพลง
  • การอักเสบเรื้อรัง (Chronic Inflammation) เมื่อร่างกายมีไขมันสะสมมาก เซลล์ไขมันจะปล่อยสารอักเสบออกมา หากอักเสบมากจนถึงขั้นเรื้อรัง จะทำให้หลอดเลือดอักเสบ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินและเป็นโรคเบาหวานได้ในอนาคต
  • ภาวะพร่องฮอร์โมน (Hormonal Insufficiency) เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนต่างๆ ลดลง ส่งผลให้การฟื้นฟูร่างกายลดลง และมีโอกาสเกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย

 

วิธีชะลอก่อนที่จะมีโรคชรา

แม้เราจะหนีโรคชราไม่พ้น แต่เราสามารถชะลอความชราให้ช้าลงด้วยวิธีเบสิคเหล่านี้ได้

  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
  • รับอากาศบริสุทธิ์ เพราะอากาศเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยชะลอความแก่ ทำให้ร่างกายแข็งแรง
  • งานอดิเรก ทำกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเพิ่มความผ่อนคลาย ปรับสภาพจิตใจให้แจ่มใส
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีเวลาซ่อมแซมตัวเอง

 

ชราแล้วดูแลตัวเองอย่างไรดีนะ?

  • การดูแลผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวลำบาก ผู้ดูแลควรอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุมากที่สุด เพื่อทำกิจวัตรต่างๆ เช่น
    • การมีเก้าอี้อาบน้ำ เพื่อให้ผู้สูงอายุอาบน้ำได้สะดวก ที่สำคัญต้องมีจุกยางป้องกันการลื่นล้ม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้
    • ไม้เท้า อุปกรณ์ช่วยพยุงขณะเดิน ทำจากโครงสร้างที่แข็งแรง มั่นคง หรืออาจจะกางออกเป็นเก้าอี้สำหรับนั่งพักได้
  • การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง
    • ผู้ดูแลต้องระมัดระวังแผลกดทับโดยหมั่นพลิกตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชม. รวมถึงการกายภาพในท่าทางที่เหมาะสม ป้องกันข้อต่อติดขัด
    • การขับถ่าย หมั่นดูแลใส่ใจเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ
    • การรับประทานอาหาร ควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย และไม่ทำให้ท้องอืด

 

ที่มา: ศูนย์สุขภาพนครธน, โรงพยาบาลสินแพทย์, กรมกิจการผู้สูงอายุ

 

#โรคชรา #ผู้สูงอายุ #คนแก่ #ผู้สูงวัย #ดูแลผู้สูงอายุ #ดูแลคนแก่ #เก้าอี้อาบน้ำ #เก้าอี้อาบน้ำผู้สูงอายุ #เก้าอี้นั่งอาบน้ำ #เก้าอี้อาบน้ำผู้ป่วย #เก้าอี้อาบน้ำคนแก่ #เก้าอี้อาบน้ำแบบพนักพิง #เก้าอี้ผู้สูงอายุ #ไม้เท้า #ไม้เท้าช่วยเดิน #ไม้เท้าผู้สูงอายุ #ไม้เท้าคนแก่ #ไม้เท้านั่งได้ #ไม้เท้าพยุงเดิน #ไม้เท้าผู้ป่วย #เก้าอี้ไม้เท้า #ShowerChair #WalkingStick