เกจ์หายใจออกซิเจนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมแรงดันและอัตราการไหลของก๊าซออกซิเจน เหมาะสำหรับใช้ในงานผู้ป่วยที่มีภาวะขาดออกซิเจน รวมถึงการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและโรงพยาบาล เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีค่าออกซิเจนน้อยกว่า 96% ควรได้รับออกซิเจนเพิ่ม มีหลักการทำงานคือ ลดความดันและควบคุมปริมาตรการไหลของออกซิเจนที่เชื่อมต่อกับถังออกซิเจน เพื่อทำให้การไหลของออกซิเจนผ่านสายออกซิเจนแคนนูล่า เข้าสู่โพรงจมูกผู้ป่วยมีความสม่ำเสมอ ซึ่งอัตราการไหลและการปรับแรงดันนั้นจะปรับตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เหมาะสม

 

คุณสมบัติของเกจ์หายใจออกซิเจน

  • เกจ์หายใจออกซิเจนควรมีหน้าปัดขนาดใหญ่ อ่านง่าย ตัวเลนส์ทำมาจากวัสดุที่แข็งแรงสูง ทนต่อแรงกระแทกและแตกยาก
  • ตัวเกจ์ วัสดุทำจากโลหะชุบโครเมี่ยม ช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีความเงางาม ต้านทานการสึกหรอได้ดีและป้องกันการเสียดสีและการเกิดสนิม
  • สายออกซิเจนแคนนูล่าทำมาจาก PVC เกรดทางการแพทย์
  • ขีดบอกปริมาตรชัดเจน ไม่เลือนหาย
  • ได้รับการรับรองคุณภาพและมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

 

องค์ประกอบของเกจ์หายใจออกซิเจนที่พร้อมใช้งาน

  • หลอดโฟลมิเตอร์ ใช้ดูปริมาณของออกซิเจนที่ออกไปสู่ผู้ป่วย ซึ่งจะมีวาล์วคอยเปิด-ปิดปริมาณที่ต้องการ จะขึ้นอยู่กับปริมาณที่แพทย์แจ้งให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน
  • หน้าปัดบอกความดันของออกซิเจนในถัง ซึ่งจะบอกคร่าวๆ ได้ถึงปริมาณออกซิเจนที่เหลืออยู่
  • แกนหัววาล์วชนิด CGA540 จะใส่เข้าไปในถังและหมุนวงแหวนให้เข้ากัน และใช้ประแจหมุนขันให้แน่นเพื่อไม่ให้ออกซิเจนรั่วออกระหว่างรอยต่อ
  • กระบอกทำความชื้น จะใส่น้ำสเตอไรล์หรือน้ำสะอาดต้มสุกประมาณ 3/4 ส่วนของกระบอก และหมุนต่อเข้ากับหลอดโฟลมิเตอร์
  • สายออกซิเจนแคนนูล่า ปลายสายต่อกระบอกทำความชื้น แต่ต้องระวังแง่งให้ออกซิเจนไปกดจมูกคนผู้ป่วย เพราะอาจทำให้เกิดบาดแผลได้ และไม่ควรเปิดออกซิเจนแรงเกินไป จะทำให้มีอาการแสบที่เยื่อบุโพรงจมูก

 

คำแนะนำสำหรับการใช้งานเกจ์หายใจออกซิเจน

  • ก่อนการใช้งานทุกครั้ง ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกชิ้นส่วน อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งาน สะอาดและแห้ง
  • ห้ามใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือจาระบี เพราะอาจทำให้เกิดการระเบิดได้
  • รักษาความสะอาดของกระบอกทำความชื้นอย่างสม่ำเสมอ
  • ควรเปลี่ยนสายยางทุก 5-7 วัน เพื่อนำไปทำความสะอาด
  • ควรทำความสะอาดบริเวณช่องจมูกและบริเวณช่องปากทุก 3-4 ชม.
  • หลังจากการใช้งาน ให้ปิดสวิตซ์ที่ถังออกซิเจน ไล่ออกซิเจนที่เหลือออกจากท่อ ปรับอัตราการไหลของออกซิเจนให้อยู่ในระดับ 0 (ศูนย์) แล้วจึงปิดวาล์วของตัวถังออกซิเจน หากต้องการใช้งานอีกให้เปิดวาล์วถังออกซิเจนก่อนแล้วจึงหมุนปรับอัตราการไหลของออกซิเจนเพื่อป้องกันการระเบิด

 

ที่มา: THE STANDARD, บ้านอุปกรณ์การแพทย์, Health at Home

#เกจ์ออกซิเจน #เกจ์หายใจ #เกจ์หายใจออกซิเจน #เกจ์ออกซิเจนทางการแพทย์ #เกจ์ออกซิเจนยามาดะ #เกจ์หายใจYamada #อุปกรณ์ควบคุมการไหลของออกซิเจน