หลายท่านคงเคยมีอาการปวดหลัง บางคนปวดมาก ปวดน้อย บางคนปวดเป็นเดือนก็มี เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปในทุกเพศทุกวัย โดยในเด็กจะพบอาการปวดหลังได้น้อยกว่าวัยทำงาน  ซึ่งสาเหตุการปวดหลังแต่ละส่วนก็แตกต่างกันออกไป

 

สาเหตุการปวดหลังแบบต่างๆ

  1. ปวดหลังส่วนบน มีสาเหตุมาจากการก้มเล่นมือถือนานๆ หรือการแบกกระเป๋าหนัก
  2. ปวดหลังส่วนกลาง เกิดจากการก้มยกของหนัก นอนเตียงนุ่มหรือแข็งเกินไป
  3. ปวดหลังส่วนล่าง มีสาเหตุจากน้ำหนักตัวเยอะเกิน ยืนหรือนั่งนานๆ

 

ปวดหลังแบบไหนบ่งบอกเป็นโรคอะไร

  • ปวดหลังจากการยกของหนัก เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ
  • ปวดแนวกระดูกกลางหลัง มักเป็นอาการของหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือเอ็นยึดระหว่างกระดูกสันหลัง
  • ปวดหลังเยื้องออกมาด้านข้าง เกิดจากกล้ามเนื้อหลังผิดปกติ
  • ปวดหลังร่วมกับมีอาการชา-อ่อนแรง เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทหรือเส้นประสาท
  • ปวดร้าวเหมือนไฟฟ้าช็อต เกิดจากเส้นประสาทอาจถูกกดเบียด
  • ปวดหลังแบบล้าๆ เมื่อยๆ มีจุดที่กดแล้วปวดมากขึ้น อาจเกิดจากกล้ามเนื้อ

 

คำแนะนำจัดการกับอาการปวดหลัง

อาการปวดหลังสามารถรักษาด้วยตนเองก่อนเบื้องต้น เพียงแค่หันมาใส่ใจตนเอง ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็จะสามารถบรรเทาอาการโรคปวดหลังอันน่าทรมานได้ โดยมีคำแนะนำดังนี้

  1. การนั่ง ควรนั่งให้เต็มก้น และเอนหลังไปที่พนักพิง เพื่อให้ร่างกายถ่ายน้ำหนักบางส่วน ไปที่เก้าอี้แทนที่จะทรงตัวด้วยกระดูกสันหลังเท่านั้น
  2. การยืน ควรยืนให้ขากว้างเท่ากับสะโพก โดยให้น้ำหนักตัวลงไปที่ขาทั้งสองข้างเท่ากันเพื่อความสมดุลของร่างกาย หากมีความจำเป็นต้องยกของหนัก ต้องใช้ตัวช่วยอย่างเข็มขัดพยุงหลังที่มีแผ่นเสริมความกระชับแบบ 2 ชั้น เพื่อเพิ่มความกระชับให้มากขึ้น และมาตรฐาน  ISO 13485, มาตรฐาน CE และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อช่วยพยุงหลัง และป้องกันอาการบาดเจ็บบริเวณหลัง
  3. การนอน ไม่นอนคว่ำหรือนอนในท่ากึ่งนอนกึ่งนั่ง ควรนอนหงายเพื่อให้กระดูกสันหลังเรียงตัวได้ดีไม่โค้งงอ โดยเตียงต้องไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป

แต่หากมีอาการปวดหลังเรื้อรังนานมากกว่า 4 สัปดาห์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยสาเหตุของอาการ และรับการรักษาอย่างถูกวิธี ก่อนที่โรครุนแรงจะมาเยือน

 

ที่มา: โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์, โรงพยาบาลศิครินทร์

#ปวดหลัง #เจ็บหลัง #ออฟฟิศซินโดรม #OfficeSyndrome #ผู้สูงอายุ #คนแก่ #พนักงานออฟฟิศ #กระดูดสันหลัง  #แบกของ #ยกของหนัก #เข็มขัดพยุงหลัง #ที่พยุงหลัง #Backsupportbelt