อากาศถือเป็นหนึ่งในความต้องการขั้นพื้นฐานทางกายภาพเพื่อความอยู่รอด องค์กรอนามัยโลก (WHO) ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศ ว่าหากมีเกินกว่า 25 µg/m³ ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่  50 µg/m³ ด้วยขนาดที่เล็กมาก ทำให้ฝุ่นละอองพิษ PM2.5 สามารถถูกสูดเข้าลึกถึงทางเดินหายใจและปอด  บางอนุภาคยังอาจเข้าสู่กระแสเลือดไหลเวียนไปทั่วร่างกาย ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย

 

ฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน?

  • การเผาไหม้ในที่โล่ง
  • ยานพาหนะการคมนาคมขนส่ง
  • อุตสาหกรรมโรงงาน
  • ฝุ่นละอองทั่วไปและการก่อสร้าง
  • การรวมตัวของก๊าซอื่นในบรรยากาศ

ปัจจุบันเรายังไม่สามารถควบคุมให้ปริมาณมลพิษทางอากาศจากแหล่งที่มาเหล่านี้ลดลงได้ รวมถึงสภาพความกดอากาศต่ำ ทำให้การเคลื่อนย้ายของฝุ่นมลภาวะทางอากาศไม่ถ่ายเท

 

อาการที่ต้องระวัง

  • แสบตา ตาแดง
  • ผิวหนังอักเสบ ผื่น ภูมิแพ้ผิวหนัง
  • สมองมีการพัฒนาช้า สมาธิสั้น
  • มีไข้ ตัวร้อน
  • แสบจมูก มีน้ำมูก ไอจาม
  • ภูมิแพ้กำเริบ
  • อาจเป็นโรคร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น มะเร็งปอด หัวใจขาดเลือด ปอดอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

 

วิธีป้องกันและดูแลสุขภาพ

  • สวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์เมื่อออกจากบ้าน หรือสวมหน้ากาก N95 หรือเทียบเท่า เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงฝุ่น PM 2.5 เป็นเวลานาน
  • ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น เช่น จุดธูป ปิ้งย่าง เผาขยะ เผาเศษใบไม้ เป็นต้น
  • เลี่ยงกิจกรรมหรืองดออกกำลังกายกลางแจ้งในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน
  • ทำความสะอาดที่พักอาศัยให้สะอาด ปลอดฝุ่นอยู่เสมอ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรเลี่ยงการออกจากบ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการรับมลพิษฝุ่น PM 2.5
  • หากมีอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจควรพบแพทย์ทันที และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

ที่มา: โรงพยาบาลสมิติเวช, โรคพยาบาลศิครินทร์, กองสนับสนุนบริการสุขภาพ

 

#PM2.5 #โรคระบบทางเดินหายใจ #ฝุ่น #หน้ากากอนามัย #หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ #หน้ากากN95 #หน้ากากเทียบเท่าN95 #หน้ากากป้องกันฝุ่น #ผ้าปิดจมูก #แมส